สิวฮอร์โมน : 1 ในเจ้ากรรมนายเวรของคนรักสวยรักงาม

สิวฮอร์โมน

สารบัญ

เรื่องของ สิว เป็นสิ่งที่แทบทุกคนจะต้องเคยประสบพบเจอ เปรียบเหมือนเจ้ากรรม นายเวร ที่เราไปทำร้ายไว้ตั้งแต่ชาติปางก่อน กลับมาเอาคืน แต่จะเอาคืนมาน้อยก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลกรรมที่ทำมาแต่อย่างใด แต่ขึ้นอยู่กับการที่เราต้องรู้จักและเข้าใจปัญหา หากสามารถเข้าใจปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นทางแก้ ทางป้องกัน ก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร และวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ “สิวฮอร์โมน” ภัยร้ายต่อความมั่นคงทางบุลลิกภาพ และภาพลักษณ์ ให้รู้จักมันอย่างถ่องแท้

สิวฮอร์โมน คืออะไร ?

สิวฮอร์โมน หรือ Hormonal มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิม ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่เป็นรอบเดือน หรือ ช่วงหมดรอบประจำเดือน แม้แต่ในช่วงที่งานหนัก มีความเครียดสะสมสูงเป็นพิเศษ โดยส่วนใหญ่ที่จะต้องเจอกับสิวฮอร์โมน มักจะเป็นกลุ่มในช่วงวัยรุ่นเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่กลุ่มผู้ใหญ่เองก็สามารถพบเจอได้บ่อยเช่นเดียวกัน

สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร ?

สิวฮอร์โมน มีสาเหตุตาม “ชื่อ” เลย มาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ส่งผลกระทบให้เกิดการสร้างน้ำมันที่ผิวหนังมากกว่าปกติ โดยเจ้าน้ำมันที่ถูกสร้างมาเกินความต้องการ ไปทำปฏิกิริยากับ เชื้อแบคทีเรีย ภายในรูขุมขน และเป็นสาเหตุของการเกิดสิว

สิวฮอร์โมน ส่งผลต่อใครบ้าง ?

สิวฮอร์โมน สามารถที่ส่งผลกระทบต่อทั้งเพศชาย และเพศหญิง แต่ในหลายกรณีส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้หญิง มากกว่าเพราะมีการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมน มากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วง ตั้งครรภ์ ในช่วงรอบเดือน และรวมไปถึงวัยหมดประจำเดือน

สิวฮอร์โมน สามารถพบได้บ่อยแค่ไหน ?

สำหรับ สิวฮอร์โมน สามารถพบได้มาก โดยเกือบ 80% ของคนทั่วไปมักจะเคยเป็น สิวฮอร์โมน มาก่อน โดยอาจจะประมาณแบ่งแยกย่อยได้ ก็คือ 50% ของสาวๆ ในวัย 20 และ 25% ของ สาวๆ ในวัย 40 ปีขึ้นไป มักจะพบปัญหา สิวฮอร์โมน เห็นไหมว่า เจ้า สิวฮอร์โมน เป็นเหมือนเจ้ากรรมนายเวร มากยิ่งกว่าโภคภัยไข้เจ็บธรรมดาเสียอีก

สิวฮอร์โมน มีลักษณะอย่างไร

ด้วยความแสบของเจ้ากรรมนายเวร ของเรา มันสามารถเป็นได้ทั้ง สิวอุดตัน และแม้แต่ สิวอักเสบ โดยขึ้นอยู่กับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลายตามแต่ล่ะบุคคล และปริมาณฮอร์โมน ที่สำคัญอาจจะเกี่ยวข้องกับ “แต้มบุญ” ก็เป็นได้  อาจจะสามารถแบ่งออกเป็นได้ดังต่อไปนี้

สิวอุดตัน หรือ Comedones

แน่นอนว่าสิวอุดตันก็จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดแยกย่อยออกไปอีก ก็คือ สิวอุดตันแบบเปิด และ สิวอุดตันแบบปิด

สิวอุดตันแบบเปิด Open Comedones

ชื่อของมันก็ถูกตั้งตามลักษณะทางกายภาพของมัน โดยจะมีลักษณะเป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก โดยลักษณะเด่นของมันก็คือ จะมีหัวเป็นสีดำ เพราะเกิดการ Oxidation กับ อากาศ นั่นเอง

สิวอุดตันแบบปิด หรือ Closed Comedone

โดยจะมีลักษณะคล้ายกับสิวอุดตันแบบเปิด แต่บริเวณของหัวสิว จะมีสีขาว บางคนก็เลยเรียกว่า สิวหัวขาว

สิวอักเสบ (Papulopustular acne)

สิวอักเสบ มักจะพบได้บริเวณต่อมไขมันรูขุมขนที่เกิดการอุดตันและมีแบคทีเรียเข้าไปเติบโตอยู่ภายในจนกระทั่งอักเสบขึ้นข้างในบริเวณต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เมื่อไปสัมผัสถูกสิวก็มักจะเกิดความรู้สึกเจ็บขึ้นในบริเวณสิวและบริเวณโดยรอบ มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวช้าง สิวหัวหนอง สิว อักเสบ บวม แดง ที่มีลักษณะเป็นถุงใหญ่ๆ อยู่ใต้ผิว

 

ความสัมพันธ์ระหว่าง สิว กับ ฮอร์โมน

ฮอร์โมน เป็นปัจจัยภายในร่างกายที่ก่อให้เกิดสิวได้ เนื่องจากฮอร์โมนบางชนิดไปกระตุ้นการผลิตไขมันในต่อมไขมัน เช่น เทสโทสเทอโรน แอนโดรเจน และคอร์ติซอล เป็นต้น จนเป็นสาเหตุของไขมันส่วนเกินบนใบหน้า จนทำให้เกิดเป็นผิวมันและเป็นสิวตามมา ฮอร์โมนที่เด่นชัดในเรื่องของการก่อให้เกิดสิวมักจะเป็นฮอร์โมนของเพศและการเจริญวัย ตัวอย่างเช่น

  • เทสโทสเทอโรน เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะช่วงการเป็นวัยรุ่นอย่างสมบูรณ์

แต่ฮอร์โมนนี้ก็มักจะก่อให้เกิดสิวตามมา เพราะไปกระตุ้นต่อมไขมันให้มีการผลิตไขมันมากขึ้น จนเกิดเป็นปัญหาผิวมันและก่อให้เกิดสิว ประเภทต่างๆ ขึ้นทั่วบนใบหน้า ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาว สิวที่จมูก สิวหัวดำ สิวหัวหนอง และ สิวหัวช้าง

นอกจากนี้ ในบางครั้งที่เราเกิดความเครียดหรือต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่กดดัน เช่น

  • ตอนที่เราทำข้อสอบในวิชาที่ค่อนข้างยาก ขณะที่เราทำงานภายใต้ความกดดัน หรือ การควบคุมสถานการณ์ตึงเครียดบางอย่างอยู่ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถเผชิญหน้าและผ่านความเครียดนั้นไปให้ได้ ซึ่งระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลโดยตรงต่อสภาพผิวและการเกิดสิว 
  • เพราะฮอร์โมนนี้สามารถกระตุ้นการผลิตไขมันของต่อมไขมันใต้ผิวหนังได้ ทำให้เกิดน้ำมันบนผิวจำนวนมาก หรือ ไขมันส่วนเกิน ซึ่งนำไปสู่การอุดตันของรูขุมขน จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการอักเสบ และเป็นสิวในเวลาต่อมาได้ นอกจากนี้ยังอาจก่อให้เกิดการอักเสบของผิว และเกิดภาวะผิวแดงคันได้อีกด้วย 

ซึ่ง ฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดสิว ส่วนใหญ่มักจะมีหลักการที่ทำให้เกิดสิวคล้ายๆ กัน คือ การไปกระตุ้นต่อมไขมันใต้ผิวหนังให้มีการผลิตไขมันออกมามากขึ้น จนนำไปสู่ปัญหาผิวและสิวตามมา นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “สิว ฮอร์โมน

รักษา สิว ฮอร์โมน

ปัญหาผิวที่มาจากสิวและฮอร์โมน

เป็นที่ทราบกันดีว่า มีฮอร์โมนหลายชนิดที่มักจะไปกระตุ้นการผลิตน้ำมันของต่อมไขมันให้มีปริมาณมากขึ้น จึงทำให้ฮอร์โมนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาผิวมัน และนำไปสู่การเกิดสิวได้ รวมถึงในบางครั้ง ฮอร์โมนก็อาจทำให้เกิดปัญหาผิวบางอย่างที่ไม่คาดคิด เช่น

  • การอักเสบของผิวหนังและการขยายใหญ่ของต่อมไขมัน ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อผิวในระยะยาว เช่น การเกิดรอยดำจากสิว รอยแผลเป็นสิว หลุมลึกจากสิว อาการบวมแดงจากสิว ผิวหนังอักเสบจนทำให้เกิดการปวดบวม
  • รวมไปถึงการเกิด รูขุมขนกว้างบนใบหน้า ได้อีกด้วย ซึ่งอาการและปัญหาเหล่านี้มักจะต้องใช้เวลาในการ รักษา สิว ฮอร์โมน ยาวนานหรือในบางครั้งอาจต้องใช้การศัลยกรรมทางการแพทย์เข้ามาช่วยกันเลยทีเดียว

สาเหตุของการเกิด สิวฮอร์โมน ที่เลี่ยงไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมน ในผู้หญิง

แน่นอนว่ารวมไปถึง ตอนเป็น รอบจำเดือน รอบเดือนมาไม่ปกติ ขาดๆ หายๆ หรือมามากกว่าปกติ ในช่วงการตั้งครรภ์ และรวมไปถึงผู้หญิงที่ถึงวัยหมดรอบเดือน แม้แต่ช่วงหลังหยุดการคุมกำเนิด

สืบทอดทางกรรมพันธุ์ (Heredity)

เป็นสาเหตุที่หลายคนถึงกับต้องกุมขมับ ถ้าหากคนในรอบตัว (ครอบครัว) เป็นสิวกันหมด ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ทำได้แค่เพียงต้องดูแลผิวหน้าให้ดีกว่าคนที่ไม่มีประวัติกรรมพันธุ์ 

ผลข้างเคียงของยาของการใช้ยาบางชนิด

การใช้ยา หรือ สารเคมี บางชนิด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ในทางตรง และทางอ้อม ยกตัวอย่างเช่น การใช้ สเตียรอยด์ (Steroid)

สาเหตุของ สิวฮอร์โมน ที่หลีกเลี่ยงได้

ความเครียด

ความเครียด ถือเป็นอีกหนึ่งเจ้ากรรมนายเวร ของเราเช่นเดียวกัน เพราะนอกจากจะทำให้จิตใจย่ำแย่แล้ว ยังก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาได้อย่างน่าแปลกใจ ดังนั้นไม่ได้แปลกใจว่ามันจะเป็นหนึ่งในสาเหตุ แต่เราก็สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ โดยทำใจให้สงบ ก็จะสามารถช่วยได้ไม่มากก็น้อยแหละนะ

การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การพักผ่อนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ถึงขนาดมีคำกล่าวที่ การนอนคือยาบำรุงที่ดีที่สุด หากพักผ่อนไม่เพียงพอ โรคจะตามมา จะถามหาก็ไม่แปลกอะไร

การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวหนัง

ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีส่วนผสมของ น้ำมัน หรือส่วนผสมบางชนิดที่จะเข้าไปอุดตันรูขุมขน เราสามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้

รักษา สิวฮอร์โมน อย่างไรดี?

เมื่อเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนแล้ว ส่วนใหญ่มักจะมีอาการ เจ็บปวดตามมาจากการอักเสบของผิวหนัง และอาจมีหนองใต้ผิวหนังร่วมด้วย จึงทำให้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น นอกจากจะต้องเจ็บตัวกับการอักเสบของผิวหนังแล้ว ยังต้องมาเจ็บใจกับแผลเป็นจากสิวไว้อีก วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของสิวและฮอร์โมนมีผลต่อผิวหนังอย่างไร เพื่อให้ทุกคนได้แนวทางในการจัดการกับฮอร์โมนอย่างถูกต้องกันค่ะ

วิธีการดูแลและป้องกัน

จากที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าสิวและฮอร์โมน ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านผิวหนังโดยตรง ซึ่งเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก แต่ในความจริงแล้วเราสามารถดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาผิวและสิวจากฮอร์โมนได้ง่ายๆ ด้วยการรักษาสมดุลของฮอร์โมน เพราะส่วนใหญ่ปัญหาผิวที่เกิดจากฮอร์โมนมักจะเกิดจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น

  • การพักผ่อนให้เพียงพอ
  • การทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • การทำให้จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ไม่เครียดจนเกินไป
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ 

เพราะฮอร์โมนส่วนใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทั้งในบางฮอร์โมนจะถูกสังเคราะห์ได้ดีในสารอาหารบางประเภท ซึ่งหากเราทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนขึ้นได้

ดังนั้น เราจึงควรทานอาหารให้หลากหลายและครบทั้ง มื้อ ไม่ควรอดอาหาร หาก รักษา สิวฮอร์โมน การใช้ชีวิตและพฤติกรรมที่ดีได้อย่างเป็นประจำในทุก ๆ วัน ก็จะสามารถรักษาระดับสมดุลของฮอร์โมนได้ และยังช่วยให้ห่างไกลจากโรคต่างๆ ได้  

สิว สิวฮอร์โมน ปัญหาสิว | Aqua+ Series

นอกจากนี้ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่ดีและเหมาะกับสภาพผิวของเราก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ไม่ควรพลาด ทั้งใน

  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวหน้า
  • ครีมบำรุงผิว
  • ผลิตภัณฑ์รักษาสิว และดูแลผิวเป็นสิวโดยเฉพาะ

เพื่อการรักษาและบำรุงอย่างล้ำลึก ทำให้สิวหายได้ โดยไม่เกิดปัญหาผิวให้ปวดหัวและต้องมาตามแก้อีก เช่น รอยสิวและหลุมสิว ปัญหาผิวตัวร้ายที่มักมาพร้อมกับสิว ทำให้คุณสามารถเผยผิวสวยใส หมดกังวลเรื่องปัญหาสิวไปได้เลยค่ะ

รักษา สิวฮอร์โมน ตอนตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

เจ้ากรรมนายเวรของเรา ไม่เลือกเวลามาหลอกหลอน เช่นเดียวกับ สิวฮอร์โมน เช่นเดียวกัน ในระหว่างตั้งครรภ์ หากมีปัญหาสิวฮอร์โมน การรักษาก็ค่อนข้างลำบากนิดหน่อย เพราะจะมีตัวเลือกในการรักษาหลายอย่างที่เราควรที่จะหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ retinoids เฉพาะที่ และการใช้ Salicylic Acid  และ Isotretinoin เป็นต้น

มีความจำเป็นต้อง พบแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษา สิวฮอร์โมน หรือไม่?

แน่นอนว่าหากการดูแลที่แนะนำไปไม่ ทำให้สิวฮอร์โมนดีขึ้น แต่กลับแย่ลง เราขอแนะนำให้ไปพบ แพทย์ผิวหนัง โดยแพทย์ผิวหนังจะสามารถเสนอการรักษาที่เพิ่มไปอีกระดับของการรักษา เพื่อควบคุมดูแลสิวฮอร์โมน หรือสิวของคุณอาจจะมาจากสาเหตุอื่นก็เป็นไปได้

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า