สิวที่จมูก: สิวที่จมูก: สาเหตุที่สำคัญ และวิธีป้องกัน

สิวที่จมูก

สารบัญ

Reading Time: 2 minutes

สิว บริเวณจมูกนั้นอันตรายกว่าที่คิด เนื่องจากบริเวณจมูก เป็นบริเวณที่มีทั้งรูขุมขน และเป็นจุดที่ร่างกายผลิตน้ำมันมารักษาความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในบางครั้งจมูกของเราก็เป็นที่หมายปองของเหล่าสิวทั้งหลาย เทียบว่าเป็นฝันร้ายของหลาย ๆ คน เพราะ บริเวณนี้เป็นจุดที่บอบบาง เมื่อเป็นสิวแต่ละทีก็ทำให้เจ็บปวดร้าวไปทั้งจมูก ยิ่งเป็น สิวอักเสบ ด้วยแล้วนั้น แค่หายใจยังปวดเลยก็ว่าได้  นอกจากนั้นสิวบริเวณนี้ ยังเป็นสิวที่อันตราย นอกจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว อาจทำให้เกิดการรุกลามต่อดวงตา ไปถึงสมองได้เลย หลายคนอาจจจะยังไม่รู้นะคะว่าสิวที่จมูกนั้นไม่ใช่สิวธรรมดา เพราะบาง ประเภทสิว และบางตำแหน่ง อาจบ่งบอกถึงระบบภายในที่กำลังมีปัญหา อย่างเช่น สิวฮอร์โมน รวมไปถึงการติดเชื้อที่เราไม่รู้ได้เลยว่าแบบไหนที่เรียกว่าปกติ แบบไหนที่ควรพบแพทย์ สิวที่อันตรายขนาดนี้ดันเกิดขึ้นและพบเห็นได้ทั่วไปด้วยน่ะสิ หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจจะส่งผลกระทบต่าง ๆ โดยที่เราคาดไม่ถึง เพราะ แบบนั้นเรามาหาสาเหตุกันดีกว่า ว่าเจ้าสิวที่มักขึ้นบริเวณจมูกนั้นเกิดจากอะไร มีลักษณะแบบไหน และมีความอันตรายยังไง เราควรมีวิธีดูแลรักษาหรือป้องกันอย่างไรบ้าง 

 

สิวที่จมูก เกิดจากอะไรกันนะ?

สิวที่จมูก เกิดจากการอุดตันของสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่นเดียวกับสิวจุดอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กันไม่ว่าจะเป็นคราบฝุ่นจากมลภาวะ คราบเครื่องสำอางค์ที่ทำความสะอาดไม่หมด เซลล์ผิวหนังที่ตายและรวมไปถึงคราบน้ำมันที่ถูกผลิตออกมามากเกินไปจนเกิดการอุดตันเป็นสิวหัวดำที่พบเห็นได้ทั่วไป  หรือแม้แต่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย มักเกิดกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือกินยาคุม ที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นสิวอักเสบบริเวณจมูก และแน่นอนว่ามันไม่ได้มาตัวเดียว พาพวกสิวไปยังจุดอื่น ๆ อีกด้วยอย่างแน่นอน  และในช่วงวัยที่มีแต่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ความไม่สมดุลในร่างกาย เนื่องจากความไม่สมดุลนี้ ทำให้ร่างกายผลิตน้ำมันบนผิวหน้ามากเกินไป จนทำให้เกิดการเป็นสิวอักเสบได้ในที่สุด และสาเหตุของการเกิด ก็ยังนับความผิดปกติทางภายในของร่างกาย ที่อาจแสดงออกมาในรูปแบบของสิวบริเวณจมูก ในส่วนต่าง เช่น สิวบริเวณบนปากใต้จมูก สาเหตุของการเกิด ส่วนมากมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่มีประจำเดือนที่ผิวขับน้ำมันส่วนเกินออกมามาก หรืออาจจะเกิดจากการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ รังไข่ มดลูก ทำงานผิดปกติสิวบริเวณสันจมูก เป็นบริเวณที่อาจจะเกิดจากความผิดปกติการทำงานของตับ และไต

สิวที่จมูก มีกี่ประเภท?

แม้จะเรียกกันว่า สิวที่จมูก แต่ก็เป็น “สิว” แน่นอนว่าจะมีหลายประเภท แต่จะมีประเภทไหนบ้าง ไปชมพร้อมกันเลย

สิวที่จมูก แบบ สิวอุดตัน

สิวอุดตัน หรือ สิวหัวดำ ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มักมีลักษณะเป็นไตเล็ก ๆ แข็ง ๆ สามารถบีบออกได้ แต่ไม่แนะนำหากไม่เชี่ยวชาญ เพราะ บริเวณจมูกเป็นพื้นที่บอบบาง อาจจะทำให้เจ็บหรือเกิดรอยแดงจนรักษาให้หายยาก อีกทั้งสิวประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดการบวมแดงหรืออาการเจ็บปวด แต่อาจจะขัดใจหน่อย ๆ เวลาลูปที่จมูก เนื่องจากมีลักษณะเป็นตุ่ม ๆ จนสัมผัสได้ชัดเจน 

สิวที่จมูก แบบ สิวอักเสบที่ไม่มีหัว

มีลักษณะเป็นตุ่มนูนแดง เต่ง และเจ็บเมื่อสัมผัส สิวประเภทนี้มักเกิดจากการการรวมตัวกันของเคราตินไขมันจากต่อมไขมันและเชื้อแบคทีเรียมาอุดตันที่รูขุมขน จนทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมแดง และสิวชนิดนี้จะขึ้นตรงไหนก็ได้ตามใจมัน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้างจมูก บนจมูก ใต้จมูก หรือแม้แต่ใต้จมูกเองก็ตาม บางราย สิวที่จมูกมีขนาดใหญ่ อาจจะเรียกว่าเป็น สิวหัวช้าง เลยก็ได้

สิวที่จมูก แบบ สิวเสี้ยน

คนมักจำสับสนระหว่าง สิวเสี้ยน กับสิวอุดตันหัวดำ แท้จริงแล้วสิวเสี้ยนนั้นไม่ใช่สิวแต่อย่างใด  เนื่องจากเป็นการจับตัวกันระหว่างเส้นขนหรือรากเส้นขนหลายเส้นจับตัวกันกับเคราติน และอุดตันอยู่ภายในรูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ จุดดำ ๆ อยู่บริเวณจมูก ซึ่งคล้ายกับสิวอุดตันหัวดำมาก ๆ เพราะ ลูบไปแล้วมีสัมผัสขรุขระกวนใจเช่นกัน 

 

สิวที่จมูก

 

สิวที่จมูก บีบได้ไหม?

เชื่อว่าทุกคนคงรู้อยู่แก่ใจว่าการบีบสิวไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาได้ถูกต้อง แต่แก้ปัญหาได้ทันที เป็นวิธีการที่คนนิยมเลือกใช้ ซึ่งสามารถระบายสิวออกได้ทันที ทว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนกด การกดเองเป็นอะไรที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะ เนื่องจากไม่ชำนาญแล้ว เครื่องมือที่ใช้อาจจะยังไม่สะอาดมากพอ ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้ออย่างรุนแรงมากขึ้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้เป็นคนกดเสียดีกว่านะคะ ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการกด นอกจากสิวจะถูกระบายออกแล้ว เราก็จะยังได้วิธีรักษาแผลหลังกดเพื่อป้องกันรอยต่าง ๆ ที่อาจตามมาจากผิวที่บอบบาง เพราะ เป็นสิวอักเสบ แต่ถึงแม้จะแก้ปัญหาได้ทันที ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลังนะคะ เนื่องบริเวณจมูกเป็นบริเวณที่ค่อนข้างบอบบาง และเป็นอีกหนึ่งจุดอันตรายที่ห้ามบีบสิว โดยมีรอบจมูก รอบดวงตา และหน้าผาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถือว่าบอบบางและ สามารถติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายที่สุด เพราะ ฉนั้นการบีบสิวที่จมูกนั้นอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด เพราะ อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้ 

สิวที่จมูก บีบแล้วอาจเสี่ยงติดเชื้อในสมอง จริงหรือไม่ ?

กล่าวถึงการบีบสิวที่จมูกนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อในสมองว่าเป็นเรื่องจริง แต่อย่าเพิ่งตกใจร้องกรี๊ดกันไป แม้จะเป็นเรื่องจริง แต่โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีน้อยมากๆ และ ร่างกายของเรามีจุดสำคัญที่ไม่ควรบีบสิวอยู่ 3 จุด นั่นคือ สิวหน้าผาก สิวดวงตา และสิวปลายจมูก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงอยู่เป็นจำนวนมาก การบีบสิวที่ปลายจมูกอาจทำให้ติดเชื้อ และแพร่มาตามโพรงจมูกจนไปถึงโพรงจมูกส่วนลึก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและสมองได้ อันตรายมาก

(อ้างอิงจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาติไทย)

 

สิวที่จมูก และผลเสียของการบีบที่ตามมา

มือที่ไม่สะอาด หรือการบีบสิวที่ไม่ถูกวิธี อาจเพิ่มระดับความรุนแรงของสิวเดิมที่มี อาจนำไปสู่การติดเชื้อทำให้การอักเสบบานปลาย และแพร่กระจายได้มากกว่าเดิม  และหากคุณเป็นคนที่ห้ามใจเอาไว้ไม่ได้ ในกรณีที่คุณพยายามบีบเค้นสิวออกมา อาจทำให้เนื้อเยื่อและพื้นผิวที่บอบบางโดยรอบเสียหายจนเกิดเป็นรอยแดง และนำไปสู่การเป็นรอยที่รักษายาก และใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน แถมยังเสียความมั่นใจในระหว่างรักษาอีกด้วยนะ ที่สำคัญผิวบริเวณนั้นจะยิ่งอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดสิวประเภทอื่นมากยิ่งขึ้น เรียกว่าผลที่ตามมาเกิดเป็นแบบลูกโซ่เลยทีเดียว และบริเวณจมูกมีเยื่อบุที่เชื่อมต่อไปยังโพรงจมูกและหลอดเลือดจำนวนมาก หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อ อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยันถึงเนื้อเยื่อโพรงจมูก อาจจะเป็นอันตรายรวมถึงมีผลกระทบต่อดวงตาและสมอง ดังที่เราบอกไว้ในข้อก่อนหน้านี้ แม้จะมีโอกาสน้อย แต่โอาสที่เยอะก็คือการบีบสิวที่ปลายจมูก อาจจะทำให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดปลายจมูกอักเสบได้ 

 

สิวขึ้นจมูก รักษาอย่างไรดี ?

การรักษาสิวที่จมูกต้องคำนึงถึงประเภทของสิวที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงของสิว รวมไปถึงสภาพผิวของแต่ละบุคคลเพื่อทำการักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นบริเวณที่บอบบางและอันตราย การปรึกษาแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาสิวที่จมูกได้แม่นยำและป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อ หรือ รอยแดงรอยดำต่าง ๆ

 

สิวที่จมูก

 

 

ผลิตภัณฑ์ดูแล สิวที่จมูก ชนิดทา

ในกรณีที่เป็นในระดับไม่รุนแรง ก็สามารถใช้ยาในการรักษาสิวที่จมูก โดยส่วนมากมักมีหลากหลายทางเลือก โดยที่เป็นที่นิยมจะได้แก่

กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)

ตัวยาที่มีคุณสมบัติให้เซลล์ผิวเก่าหลุดลอกออกไปได้ รวมถึงช่วยขจัดน้ำมันส่วนเกินที่มีอยู่บนใบหน้า เพื่อลดการอุดตันในรูขุมขน

กรด AHA (Alpha Hydroxy Acid)

กรดชนิดหนึ่งที่ได้จากธรรมชาติตามผลไม้และพืช โดยกรดมีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิว ขจัดขี้ไคล ไม่ให้สะสมอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ยังช่วยกระจายเม็ดสีผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนภายในโครงสร้าง ทำให้ผิวแข็งแรง และทำให้ผิวกระจ่างใส ลดการเกิดริ้วรอยใหม่ ๆ 

กรด BHA (Beta Hydroxy Acid)

เป็นกรดที่ออกฤทธิ์คล้ายกับกรด BHA คือ สารที่ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออกไป  และยังช่วยกระชับรูขุมขนบนใบหน้าให้เล็กลง นอกจากยังช่วยลดกระบวนการอักเสบของผิวให้สงบลง

เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)

เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยทำให้ผิวแห้ง ขจัดน้ำมันส่วนเกิน

กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)

มักมาในรูปแบบของยาแบบเจล และน้ำยาทำความสะอาดผิว โดยมีระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5% – 2% มีฤทธิ์ในการลดการอุดตันของผิว และยังทำให้เกิดอาการผิวหนังลอก ที่บริเวณผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้ Keratinocyte ที่อยู่บนผิวเกาะกันน้อยลง แต่กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ให้ผลลัพธ์ในการรักษาน้อยกว่ากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ(Retinoids) และ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) อีกทั้งยังก่อให้เกิดการระคายเคืองขึ้นเล็กน้อยด้วย 

กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)

มักจะมาในรูปแบบ ครีม ความเข้มข้น 20% ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ลดการอุดตันผิว ต้านการสร้างเม็ดสี ทำให้เมื่อใช้งานอาจทำให้รอยดำหลังการอักเสบจางลงได้ อีกทั้งยังเป็นตัวยาที่ผู้ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์สามารถใช้งานได้อีกด้วย

ซัลเฟอร์ (Sulfur)

เป็นตัวที่สามารถช่วยยับยั้งการก่อตัวของกรดไขมันอิสระ และมีฤทธิ์ในการทำให้ผิวหนังที่มีความแข็ง หลุดลอกออกไปได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ตัวซัลเฟอร์ (Sulfur) มักจะนิยมใช้ผสมกับ Sodium Sulfacetamide เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น 

ผลิตภัณฑ์ดูแล สิวที่จมูก ชนิดทาน

ยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin)

เป็นตัวยาที่มักนิยมใช้ในกลุ่มสิวที่มีระดับอาการรุนแรงและดื้อยา รวมไปจนถึงกลุ่มที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบรับประทานแล้วไม่ได้ผล โดยฤทธิ์ของยาไอโซเตรทติโนอิน รักษารูขุมขนที่อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือสิวชนิดต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถใช้รักษาได้ในระยะยาวอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยานี้ เนื่องจากตัวยานี้อาจส่งผลให้เด็กทารกในครรภ์มีความผิดปกติ หรือเกิดร่างกายพิการ แนะนำว่า ควรใช้ยาตัวนี้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ 

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic)

อย่าง Erythromycin และ Clindamycin เป็นตัวยาที่ใช้รักษาสิวที่จมูกกันอย่างแพร่หลาย ควรใช้ Erythromycin และ Clindamycin ร่วมกับ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อป้องกันอาการดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นได้

รักษาด้วยการปรับฮอร์โมน(Hormonal Therapy)

ควรใช้เฉพาะกรณีที่สงสัยว่าเป็นสิวด้วยสาเหตุจากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย อัลตราซาวด์ และตรวจเลือดเพิ่มเติม ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยาที่ต้องเฝ้าระวัง

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลิตภัณฑ์ดูแลที่กล่าวมา อาจจะเป็นแค่บรรเทาอาการ โดยจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนทุกครั้ง เพราะ เป็นบริเวณที่ค่อนข้างอันตราย และมีผลกระทบอย่างมาก ฉะนั้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญไว้ก่อนจะได้ผลที่ดีกว่าอย่างแน่นอน

 

วิธีป้องกันการเกิด สิวที่จมูก ซ้ำอีก

ส่วนที่สำคัญที่สุดของการป้องกันการเกิด สิวที่จมูก ซ้ำ คือการทำความสะอาดใบหน้าให้หมดจด ถูกขั้นตอน ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยน ไม่รบกวนค่า pH ของผิวหนัง และการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยน เหมาะกับสภาพผิวหน้า และไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน  ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำให้ผิวมันมากขึ้น และเหมาะกับสภาพผิวหน้าของตัวเอง ที่สำคัญอีกสิ่งก็คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือบีบจมูกบ่อย ๆ เพราะ มือของเรานี่แหละที่อาจเป็นตัวนำเชื้อโรคและแบคทีเรียมาสู่ใบหน้าจนเป็นสาเหตุให้เกิดสิวบริเวณต่าง ๆ  ในช่วงที่อากาศร้อน หรือเกิดการอับชื้น ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อย ๆ และรักษาความสะอาดของหน้ากากบนใบหน้าเราอยู่เสมอ   และสุดท้าย การพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลาย ลดความเครียดต่างๆ ลง กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และออกกำลังเพื่อรักษาสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะลดการเกิดสิวได้อย่างเป็นธรรมชาติ  

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า