สารบัญ
สิว บริเวณจมูก หรือที่เรามักเรียกกันอย่างติดปากว่า สิวที่จมูก นั้นอันตรายกว่าที่คิด เนื่องจากบริเวณจมูก เป็นบริเวณที่มีทั้งรูขุมขน และเป็นจุดที่ร่างกายผลิตน้ำมันมารักษาความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในบางครั้งจมูกของเราก็เป็นที่หมายปองของเหล่าสิวทั้งหลาย เทียบว่าเป็นฝันร้ายของหลาย ๆ คน เพราะ บริเวณนี้เป็นจุดที่บอบบาง เมื่อเป็นสิวแต่ละทีก็ทำให้เจ็บปวดร้าวไปทั้งจมูก ยิ่งเป็น สิวอักเสบ ด้วยแล้วนั้น แค่หายใจยังปวดเลยก็ว่าได้ นอกจากนั้นสิวบริเวณนี้ ยังเป็นสิวที่อันตราย นอกจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อแล้ว อาจทำให้เกิดการรุกลามต่อดวงตา ไปถึงสมองได้เลย หลายคนอาจจจะยังไม่รู้นะคะว่าสิวที่จมูกนั้นไม่ใช่สิวธรรมดา เพราะบาง ประเภทสิว และบางตำแหน่ง อาจบ่งบอกถึงระบบภายในที่กำลังมีปัญหา อย่างเช่น สิวฮอร์โมน รวมไปถึงการติดเชื้อที่เราไม่รู้ได้เลยว่าแบบไหนที่เรียกว่าปกติ แบบไหนที่ควรพบแพทย์ สิวที่อันตรายขนาดนี้ดันเกิดขึ้นและพบเห็นได้ทั่วไปด้วยน่ะสิ หากรักษาไม่ถูกวิธีอาจจะส่งผลกระทบต่าง ๆ โดยที่เราคาดไม่ถึง เพราะ แบบนั้นเรามาหาสาเหตุกันดีกว่า ว่าเจ้าสิวที่มักขึ้นบริเวณจมูกนั้นเกิดจากอะไร มีลักษณะแบบไหน และมีความอันตรายยังไง เราควรมีวิธีดูแลรักษาหรือป้องกันอย่างไรบ้าง
สิวที่จมูก เกิดจากอะไร
สิวที่จมูก เป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่พบได้บ่อย และยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในวัยรุ่น เกิดจากการอุดตันของสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่นเดียวกับสิวจุดอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กันไม่ว่าจะเป็นคราบฝุ่นจากมลภาวะ คราบเครื่องสำอางค์ที่ทำความสะอาดไม่หมด เซลล์ผิวหนังที่ตาย และรวมไปถึงคราบน้ำมันที่ถูกผลิตออกมามากเกินไปจนเกิดการอุดตันเป็นสิวหัวดำที่พบเห็นได้ทั่วไป หรือแม้แต่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย มักเกิดกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือกินยาคุม ที่อาจทำให้ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นสิวอักเสบบริเวณจมูก
สิวที่จมูก มีกี่ประเภท
แม้จะเรียกกันว่า “สิวที่จมูก” แต่ก็เป็น สิว แน่นอนว่าจะมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะถูกแบ่งตามลักษณะ และสาเหตุของการเกิด จะมีประเภทไหนบ้างไปชมพร้อมกันได้เลย
แบบสิวอุดตัน
สิวอุดตันบนจมูก เป็นประเภทที่พบได้บ่อยมาก เนื่องจากบริเวณนี้มีต่อมไขมันที่หนาแน่นซึ่งผลิตน้ำมันออกมามากกว่าบริเวณอื่น ๆ ของใบหน้า สามารถบีบออกได้ แต่ไม่แนะนำหากไม่เชี่ยวชาญ เพราะ บริเวณจมูกเป็นพื้นที่บอบบาง อาจจะทำให้เจ็บหรือเกิดรอยแดงจนรักษาให้หายยาก อีกทั้งสิวประเภทนี้ไม่ก่อให้เกิดการบวมแดงหรืออาการเจ็บปวด แต่อาจจะขัดใจหน่อย ๆ เวลาลูปที่จมูก เนื่องจากมีลักษณะเป็นตุ่ม ๆ จนสัมผัสได้ชัดเจน เกิดจากการที่น้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วอุดตันรูขุมขน
แบบสิวอักเสบที่ไม่มีหัว
สิวอักเสบที่ไม่มีหัวบนจมูกเป็นสิวที่เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง และไม่มีหัวสีขาวที่ปรากฏบนผิวหนัง สิวประเภทนี้มักมีลักษณะเป็นตุ่มแดงและอาจรู้สึกเจ็บปวด เต็มไปด้วยเนื้อเยื่ออักเสบที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อและทำให้เกิดปัญหาผิวหนังที่รุนแรงกว่าเช่นซีสต์หรือโนดูล สิวชนิดนี้จะขึ้นตรงไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้างจมูก บนจมูก ใต้จมูก หรือแม้แต่ใต้จมูกเองก็ตาม บางราย สิวที่จมูกมีขนาดใหญ่ อาจจะเรียกว่าเป็น สิวหัวช้าง เลยก็ได้
แบบสิวเสี้ยน
คนมักจำสับสนระหว่าง สิวเสี้ยน กับสิวอุดตันหัวดำ แท้จริงแล้วสิวเสี้ยนนั้นไม่ใช่สิวแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการจับตัวกันระหว่างเส้นขนหรือรากเส้นขนหลายเส้นจับตัวกันกับเคราติน และอุดตันอยู่ภายในรูขุมขนจนเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ จุดดำ ๆ อยู่บริเวณจมูก ซึ่งคล้ายกับสิวอุดตันหัวดำมาก ๆ เพราะ ลูบไปแล้วมีสัมผัสขรุขระกวนใจเช่นกัน
สิวที่จมูก บีบได้ไหม?
เชื่อว่าทุกคนคงรู้อยู่แก่ใจว่าการบีบสิวไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาได้ถูกต้อง แต่แก้ปัญหาได้ทันที เป็นวิธีการที่คนนิยมเลือกใช้ ซึ่งสามารถระบายสิวออกได้ทันที ทว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนกด การกดเองเป็นอะไรที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะ เนื่องจากไม่ชำนาญแล้ว เครื่องมือที่ใช้อาจจะยังไม่สะอาดมากพอ ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้ออย่างรุนแรงมากขึ้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้เป็นคนกดเสียดีกว่านะคะ ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทำการกด นอกจากสิวจะถูกระบายออกแล้ว เราก็จะยังได้วิธีรักษาแผลหลังกดเพื่อป้องกันรอยต่าง ๆ ที่อาจตามมาจากผิวที่บอบบาง เพราะ เป็นสิวอักเสบ แต่ถึงแม้จะแก้ปัญหาได้ทันที ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลังนะคะ เนื่องบริเวณจมูกเป็นบริเวณที่ค่อนข้างบอบบาง และเป็นอีกหนึ่งจุดอันตรายที่ห้ามบีบสิว โดยมีรอบจมูก รอบดวงตา และหน้าผาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถือว่าบอบบางและ สามารถติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายที่สุด เพราะ ฉนั้นการบีบสิวที่จมูกนั้นอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด เพราะ อาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ได้
สิวที่จมูก บีบแล้วอาจเสี่ยงติดเชื้อในสมอง จริงหรือไม่ ?
กล่าวถึงการบีบสิวที่จมูกนั้นเสี่ยงต่อการติดเชื้อในสมองว่าเป็นเรื่องจริง แต่อย่าเพิ่งตกใจร้องกรี๊ดกันไป แม้จะเป็นเรื่องจริง แต่โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวก็มีน้อยมากๆ และ ร่างกายของเรามีจุดสำคัญที่ไม่ควรบีบสิวอยู่ 3 จุด นั่นคือ สิวหน้าผาก สิวดวงตา และสิวปลายจมูก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงอยู่เป็นจำนวนมาก การบีบสิวที่ปลายจมูกอาจทำให้ติดเชื้อ และแพร่มาตามโพรงจมูกจนไปถึงโพรงจมูกส่วนลึก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและสมองได้ อันตรายมาก
(อ้างอิงจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาติไทย)
สิวที่จมูก และผลเสียของการบีบที่ตามมา
มือที่ไม่สะอาด หรือการบีบสิวที่ไม่ถูกวิธี อาจเพิ่มระดับความรุนแรงของสิวเดิมที่มี อาจนำไปสู่การติดเชื้อทำให้การอักเสบบานปลาย และแพร่กระจายได้มากกว่าเดิม และหากคุณเป็นคนที่ห้ามใจเอาไว้ไม่ได้ ในกรณีที่คุณพยายามบีบเค้นสิวออกมา อาจทำให้เนื้อเยื่อและพื้นผิวที่บอบบางโดยรอบเสียหายจนเกิดเป็นรอยแดง และนำไปสู่การเป็นรอยที่รักษายาก และใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน แถมยังเสียความมั่นใจในระหว่างรักษาอีกด้วยนะ ที่สำคัญผิวบริเวณนั้นจะยิ่งอ่อนแอ และอาจทำให้เกิดสิวประเภทอื่นมากยิ่งขึ้น เรียกว่าผลที่ตามมาเกิดเป็นแบบลูกโซ่เลยทีเดียว และบริเวณจมูกมีเยื่อบุที่เชื่อมต่อไปยังโพรงจมูกและหลอดเลือดจำนวนมาก หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อ อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยันถึงเนื้อเยื่อโพรงจมูก อาจจะเป็นอันตรายรวมถึงมีผลกระทบต่อดวงตาและสมอง ดังที่เราบอกไว้ในข้อก่อนหน้านี้ แม้จะมีโอกาสน้อย แต่โอาสที่เยอะก็คือการบีบสิวที่ปลายจมูก อาจจะทำให้การอักเสบรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดปลายจมูกอักเสบได้
รักษาสิวที่จมูกอย่างไร
การรักษาสิวที่จมูกต้องคำนึงถึงประเภทของสิวที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงของสิว รวมไปถึงสภาพผิวของแต่ละบุคคลเพื่อทำการักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นบริเวณที่บอบบางและอันตราย การปรึกษาแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาสิวที่จมูกได้แม่นยำและป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อ หรือ รอยแดงรอยดำต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์ดูแล สิวที่จมูก ชนิดทา
ในกรณีที่เป็นในระดับไม่รุนแรง ก็สามารถใช้ยาในการรักษาสิวที่จมูก โดยส่วนมากมักมีหลากหลายทางเลือก โดยที่เป็นที่นิยมจะได้แก่
กรด AHA (Alpha Hydroxy Acid)
กรดชนิดหนึ่งที่ได้จากธรรมชาติตามผลไม้และพืช โดยกรดมีฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิว ขจัดขี้ไคล ไม่ให้สะสมอุดตันในรูขุมขน นอกจากนี้ยังช่วยกระจายเม็ดสีผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนภายในโครงสร้าง ทำให้ผิวแข็งแรง และทำให้ผิวกระจ่างใส ลดการเกิดริ้วรอยใหม่ ๆ
กรด BHA (Beta Hydroxy Acid)
เป็นกรดที่ออกฤทธิ์คล้ายกับกรด BHA คือ สารที่ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่าให้หลุดออกไป และยังช่วยกระชับรูขุมขนบนใบหน้าให้เล็กลง นอกจากยังช่วยลดกระบวนการอักเสบของผิวให้สงบลง
เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide)
เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยทำให้ผิวแห้ง ขจัดน้ำมันส่วนเกิน
กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)
มักมาในรูปแบบของยาแบบเจล และน้ำยาทำความสะอาดผิว โดยมีระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5% – 2% มีฤทธิ์ในการลดการอุดตันของผิว และยังทำให้เกิดอาการผิวหนังลอก ที่บริเวณผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้ Keratinocyte ที่อยู่บนผิวเกาะกันน้อยลง แต่กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ให้ผลลัพธ์ในการรักษาน้อยกว่ากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ(Retinoids) และ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) อีกทั้งยังก่อให้เกิดการระคายเคืองขึ้นเล็กน้อยด้วย
กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid)
มักจะมาในรูปแบบ ครีม ความเข้มข้น 20% ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ลดการอุดตันผิว ต้านการสร้างเม็ดสี ทำให้เมื่อใช้งานอาจทำให้รอยดำหลังการอักเสบจางลงได้ อีกทั้งยังเป็นตัวยาที่ผู้ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์สามารถใช้งานได้อีกด้วย
ซัลเฟอร์ (Sulfur)
เป็นตัวที่สามารถช่วยยับยั้งการก่อตัวของกรดไขมันอิสระ และมีฤทธิ์ในการทำให้ผิวหนังที่มีความแข็ง หลุดลอกออกไปได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ตัวซัลเฟอร์ (Sulfur) มักจะนิยมใช้ผสมกับ Sodium Sulfacetamide เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น
ผลิตภัณฑ์ดูแลชนิดทาน
ยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin)
เป็นตัวยาที่มักนิยมใช้ในกลุ่มสิวที่มีระดับอาการรุนแรงและดื้อยา รวมไปจนถึงกลุ่มที่รักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบรับประทานแล้วไม่ได้ผล โดยฤทธิ์ของยาไอโซเตรทติโนอิน รักษารูขุมขนที่อักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือสิวชนิดต่างๆได้ อีกทั้งยังสามารถใช้รักษาได้ในระยะยาวอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยานี้ เนื่องจากตัวยานี้อาจส่งผลให้เด็กทารกในครรภ์มีความผิดปกติ หรือเกิดร่างกายพิการ แนะนำว่า ควรใช้ยาตัวนี้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic)
อย่าง Erythromycin และ Clindamycin เป็นตัวยาที่ใช้รักษาสิวที่จมูกกันอย่างแพร่หลาย ควรใช้ Erythromycin และ Clindamycin ร่วมกับ เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อป้องกันอาการดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นได้
รักษาด้วยการปรับฮอร์โมน(Hormonal Therapy)
ควรใช้เฉพาะกรณีที่สงสัยว่าเป็นสิวด้วยสาเหตุจากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น โรคถุงน้ำในรังไข่ แนะนำให้ปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย อัลตราซาวด์ และตรวจเลือดเพิ่มเติม ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากมีผลข้างเคียงของยาที่ต้องเฝ้าระวัง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผลิตภัณฑ์ดูแลที่กล่าวมา อาจจะเป็นแค่บรรเทาอาการ โดยจะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนทุกครั้ง เพราะ เป็นบริเวณที่ค่อนข้างอันตราย และมีผลกระทบอย่างมาก ฉะนั้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญไว้ก่อนจะได้ผลที่ดีกว่าอย่างแน่นอน
วิธีป้องกันการเกิด สิวที่จมูก ซ้ำอีก
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการป้องกันการเกิด สิวที่จมูก ซ้ำ คือการทำความสะอาดใบหน้าให้หมดจด ถูกขั้นตอน ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยน ไม่รบกวนค่า pH ของผิวหนัง และการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อ่อนโยน เหมาะกับสภาพผิวหน้า และไม่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขน ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่ทำให้ผิวมันมากขึ้น และเหมาะกับสภาพผิวหน้าของตัวเอง ที่สำคัญอีกสิ่งก็คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือบีบจมูกบ่อย ๆ เพราะ มือของเรานี่แหละที่อาจเป็นตัวนำเชื้อโรคและแบคทีเรียมาสู่ใบหน้าจนเป็นสาเหตุให้เกิดสิวบริเวณต่าง ๆ ในช่วงที่อากาศร้อน หรือเกิดการอับชื้น ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อย ๆ และรักษาความสะอาดของหน้ากากบนใบหน้าเราอยู่เสมอ และสุดท้าย การพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลาย ลดความเครียดต่างๆ ลง กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และออกกำลังเพื่อรักษาสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะลดการเกิดสิวได้อย่างเป็นธรรมชาติ
สิวในจมูก
สิวที่เกิดขึ้นในจมูกไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความไม่สบาย และความเจ็บปวด แต่ยังอาจมีความซับซ้อนและความอันตรายมากกว่าสิวที่เกิดบนผิวหนังส่วนอื่นของใบหน้า เนื่องจากตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงและการไหลเวียนของเลือดที่มีความเชื่อมโยงไปยังบริเวณสำคัญๆ อื่นๆ
สิวในจมูก อันตรายไหม
สิวที่เกิดขึ้นภายในจมูกมักเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันและเป็นสิวอักเสบที่มักทำให้รู้สึกเจ็บปวดมาก แม้ว่าสิวในจมูกอาจดูเหมือนปัญหาผิวหนังธรรมดา แต่มันสามารถก่อให้เกิดความอันตรายหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เนื่องจากบริเวณจมูกเชื่อมต่อโดยตรงกับเส้นเลือดที่ไหลเข้าสู่บริเวณสมอง การติดเชื้อในจมูกสามารถกระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ได้ง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในโพรงไซนัสหรือแม้แต่ Thrombosis แม้จะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่เราก็ไม่ควนประมาท
กดสิวที่จมูกกับผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหน้า
การกดสิวเป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้ในการจัดการกับสิว แต่การทำเองที่บ้านอาจนำไปสู่การติดเชื้อ แผลเป็น หรือหลุมสิว การปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหน้าหรือแพทย์ผิวหนังทำการกดสิวนั้นเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า เพราะมีวิธีการที่ถูกต้องและใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคที่สามารถลดการอักเสบและป้องกันการเกิดแผลเป็นได้ การได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญยังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลผิวหลังการกดสิว เพื่อลดโอกาสในการเกิดสิวใหม่ และลดปัญหาที่จะตามมาจากการบีบเอง กดเอง อาจจะเกิดหลุมสิว ซึ่งเป็นปัญหาน่าปวดหัว ซึ่งเราจะพูดในเรื่องถัดไป
หลุมสิวที่จมูก
หลุมสิวเป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อสิวอักเสบทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย และเมื่อสิวหายไป ผิวหนังส่วนนั้นไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่ ทำให้เกิดรอยพรุนหรือหลุมบนผิวหนัง
ประเภทหลุมสิวที่จมูก
หลุมสิวที่จมูกสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ตามลักษณะทางกายภาพของสิวชนิดนั้นๆ
Boxcar Scars
Boxcar Scars เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือกลม มีขอบที่ชัดเจน หากเทียบกับ Ice Pick Scars จะมีความตื้นกว่า โดยทั่วไปจะมีความลึกที่แตกต่างกันออกไป มักเกิดขึ้นหลังจากการอักเสบของสิวที่รุนแรง ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังถูกทำลาย หลุมสิวประเภทนี้มักพบในบริเวณที่ผิวหนังมีความหนา ตัวอย่างเช่น บนแก้ม หรือ จมูก โดยสามารถรักษาได้ด้วยเลเซอร์รีเซอร์เฟสซิ่ง การฉีดสารเติมเต็ม หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม และความเห็นของแพทย์ผิวหนัง
Ice Pick Scars
Ice Pick Scars เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะลึกและแคบเหมือนรอยแทงด้วยเข็ม เลยเป็นที่มาของชื่อ Ice Pick มีขอบที่คมและแคบลงไปยังภายใน หากมองดีๆ อาจจะสามารถมองได้รูปลักษณ์เหมือนรูปกรวยที่ลงไปลึกเข้าไปในผิวหนัง โดยที่หลุมสิวประเภทนี้เกิดขึ้นจากการอักเสบของสิวที่ลึกถึงชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า โดยการรักษา Ice Pick Scars สามารถทำด้วยไมโครนีดลิ่ง เลเซอร์ หรือกระบวนการที่เรียกว่า TCA CROSS ซึ่งเป็นการใช้กรดทริคลอโรอะซิติกเข้มข้นบนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
Rolling Scars
Rolling Scars เป็นหลุมสิวที่ทำให้ผิวหนังดูเป็นคลื่นหรือไม่เรียบเนียน มีขอบที่ไม่ชัดเจน และพื้นผิวดูเว้าเป็นระลอกคลื่น และเนื่องจากมีเส้นใยผิวหนังที่ทำให้ผิวหนังเชื่อมติดกันในชั้นลึก หลุมสิวประเภทนี้มักเกิดจากการอักเสบที่ขยายตัวเป็นวงกว้าง มักจะปรากฏบนบริเวณใบหน้า การรักษาที่ได้ผลสำหรับ Rolling Scars อาจรวมถึงการใช้เลเซอร์รีเซอร์เฟสซิ่ง เทคนิคซับซิชันที่ลดการเชื่อมต่อของเนื้อเยื่อ
Atrophic Scars
Atrophic Scars เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะผิวหนังตื้น หรือ พื้นผิวลดระดับลงจากผิวหนังโดยรอบ ส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียเนื้อเยื่อ รวมไปถึงคอลลาเจน ทำให้ผิวหนังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์หลังจากการอักเสบของสิว สามารถรวมไปถึง Boxcar Scars หรือ Ice Pick Scars การรักษา Atrophic Scars จำเป็นต้องกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และสามารถทำได้ด้วยวิธีเช่นไมโครนีดลิ่ง การฉีดสารเติมเต็ม หรือการใช้เลเซอร์รักษา
สาเหตุการเกิดหลุมสิวที่จมูก
สาเหตุหลักของหลุมสิวที่จมูกมาจากการอักเสบของสิวที่รุนแรง ซึ่งมักจะเกิดจาก
- การอุดตันของรูขุมขนที่รุนแรงกว่าปกติ และยังลึกมากเป็นพิเศษ
- การอักเสบ และการติดเชื้อ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ รวมไปถึงการสร้างความเสียหายต่อคอลลาเจนใต้ผิวหนัง
- การกดหรือบีบสิวด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องทำให้การอักเสบแย่ลง
- การมีสิวเรื้อรังที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาด้วยตัวเองอย่างไม่ถูกวิธี
รักษาสิวที่จมูกอย่างไร
การรักษาหลุมสิวเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานาน เพราะผิวที่เสียไปต้องใช้เวลาในการฟื้นกลับมา และอาจต้องมีการรักษาหลายวิธี จะมีวิธีไหนบ้างไปชมพร้อมกันได้เลย
รักษาด้วยกรด TCA
การใช้กรดทริคลอโรอะซิติก (TCA) เป็นวิธีการรักษาหลุมสิวที่จมูกที่ได้รับความนิยม เนื่องจากกรด TCA ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวหนังชั้นบน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และช่วยในการปรับปรุงรูปลักษณ์ของหลุมสิว การรักษาด้วย TCA CROSS ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กรด TCA ความเข้มข้นสูงโดยตรงบนหลุมสิว สามารถลดขนาดและความลึกของหลุมสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทว่ากระบวนการนี้ควรทำภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันผลข้างเคียงและรับประกันผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
รักษาด้วยกรด AHA
กรดอัลฟ่าไฮดรอกซีเอซิด (AHA) เป็นสารผลัดผิวหนังที่ช่วยลดหลุมสิวโดยการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและกระตุ้นการผลิตเซลล์ผิวหนังใหม่ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA สามารถช่วยปรับปรุงรูปลักษณ์ของผิวหนัง ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้นและผิวหนังมีความเรียบเนียนมากขึ้น กรด AHA มีหลายชนิด ซึ่งรวมถึงกรดกลีโคลิก และกรดแลคติก การรักษาด้วย AHA ควรทำอย่างต่อเนื่องและอาจใช้เวลาในการเห็นผล
รักษาด้วยการผ่าตัดหลุมสิว
ในกรณีที่หลุมสิวมีความลึกและรุนแรง การผ่าตัดหลุมสิวอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม การผ่าตัดประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการกำจัดเนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดหลุมสิว และเทคนิคต่างๆ เช่น การใช้เลเซอร์ในการเรียบเนียนผิวหนัง หรือการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเพื่อเติมเต็มหลุมสิว การผ่าตัดหลุมสิวเป็นการรักษาที่ต้องการความชำนาญสูง และมักจะทำหลังจากที่วิธีการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล ผู้ที่พิจารณาการผ่าตัดควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่คาดหวังได้อย่างชัดเจน
รักษาด้วยการฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว
การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิวเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในการลดรอยหลุมและร่องลึกที่เกิดจากหลุมสิว ฟิลเลอร์ที่ใช้มักจะเป็นสารที่ร่างกายยอมรับได้ เช่น กรดไฮยาลูโรนิค ซึ่งสามารถเติมเต็มและยกพื้นที่ที่ลึกหรือพรุนให้เรียบเนียนขึ้น ผลลัพธ์สามารถเห็นได้ทันทีหลังการรักษา และแม้ว่าผลลัพธ์อาจไม่ถาวร แต่สามารถทำซ้ำได้เมื่อผลการรักษาเริ่มจางหายไป
รักษาด้วยเลเซอร์รีเซอร์เฟสซิ่ง
เลเซอร์รีเซอร์เฟสซิ่งเป็นวิธีการรักษาที่ใช้แสงเลเซอร์เพื่อลอกเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่ได้รับความเสียหาย และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ใหม่ที่ผิวหนังชั้นลึก เทคนิคนี้ช่วยให้หลุมสิวตื้นขึ้นและลดรอยที่เห็นได้ชัดเจน การรักษาด้วยเลเซอร์ต้องการการดูแลหลังการรักษาอย่างเข้มงวดและอาจต้องทำหลายครั้งเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ
รักษาด้วยไมโครนีดลิ่ง
ไมโครนีดลิ่งเป็นเทคนิคการรักษาที่ใช้เข็มขนาดเล็กทำรอยบนผิวหนังเพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมตนเองของผิวหนัง กระบวนการนี้สามารถช่วยเพิ่มการผลิตคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับผิวหนังที่มีสุขภาพดี ไมโครนีดลิ่งเหมาะสำหรับหลุมสิวที่ไม่ลึกมากและสามารถทำให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่นและเรียบเนียนขึ้น ผลลัพธ์จะค่อยๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากการรักษาและอาจต้องทำซ้ำหลายครั้งเช่นกัน
สรุป
โดยรวมแล้ว การดูแลรักษาสิวที่จมูกและในจมูก รวมถึงการรักษาหลุมสิว ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและความอดทน พร้อมกับการใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น