ครีมทาสิว มีส่วนประกอบอะไรบ้าง บางทีคุณอาจใช้ยาผิดประเภทอยู่ก็ได้นะ

ครีมทาสิว

หลายคนเวลาที่เป็น สิว ก็มักจะกังวลใจและมักจะหาครีมทาสิวมาแต้ม โดยที่ไม่รู้ว่าครีมนั้นแท้จริงแล้วเอาไว้ใช้สำหรับสิวชนิดที่เป็นอยู่หรือไม่ จนเกิดปัญหาสิวเก่าไม่หาย สิวใหม่เป็นเพิ่ม และลามไปกลายเป็นสิวเรื้อรัง ส่งผลให้ยิ่งเครียดและหมดความมั่นใจ จนสุดท้ายก็กลับไปวนลูปคือซื้อครีมตัวใหม่มาทาเรื่อย ๆ 

 

แต่จริง ๆ แล้วหากคุณเลือกครีมทาสิวให้ถูกชนิดกับสิวที่เป็น แค่ครีมชนิดเดียวก็ช่วยรักษาสิวให้หายได้ และเพื่อให้คุณเลือกครีมได้ถูกชนิดวันนี้เราจะมาแนะนำตัวยาต่าง ๆ ที่อยู่ในครีมทาสิวและจุดประสงค์ในการใช้งานตัวยาดังกล่าวให้คุณเข้าใจกัน รับประกันเลยว่า สิวที่คุณเป็นอยู่จะหายได้ง่าย ๆ อย่างที่คุณคาดไม่ถึง!

 

ครีมทาสิว

 

มีตัวยาอะไรใน ครีมทาสิว บ้าง?

ในวงการแพทย์ผิวหนังจะมีการแบ่งส่วนผสมในครีมทาสิวออกเป็นระดับคือ ระดับ 1 ระดับ 2 และ ระดับ 3 โดยอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้

ระดับ 1: เป็น ครีมทาสิว แบบที่มีส่วนผสมเป็นยา ซึ่งต้องผ่านการปรึกษาเภสัชหรือคุณแพทย์ก่อนใช้ เนื่องจากต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวยาเป็นอย่างดี หากใช้เองมั่ว ๆ อาจทำให้ผิวและสิวที่เป็นอยู่แย่ลงกว่าเดิม 

ระดับ 2: เป็นส่วนผสมรองในการรักษาสิว ส่วนมากจะไม่ถูกจัดว่าเป็นยา แต่จะค่อนไปทางสกินแคร์มากกว่า โดย ครีมทาสิว ในกลุ่มนี้จะมีส่วนผสม เช่น SalspereTM SA Relief , BHA (Salicylic Acid), LHA (Capryloyl Salicylic Acid) หรือ Tea Tree Oil 

ระดับ 3: ครีมทาสิว ในกลุ่มนี้ เรียกได้ว่าเป็นส่วนผสมรองที่เข้ามาช่วยเสริมในการรักษาสิว ช่วยให้ตัวยาหลักทำงานได้ดีขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวยาหลักที่รักษาสิวโดยตรง เช่น Niacinamide, Zinc, AHA, PHA, Centella Asiatica หรือ Green Tea Extract 

ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของครีมแต้มสิวในแต่ละระดับนั้น แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน โดยทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าสิวแบบไหนต้องรักษาอย่างไร ดังนั้นเรามาเรียนรู้เรื่องสิวและเข้าใจต้นเหตุของการเกิดสิวกันก่อน 

 

ครีมทาสิว

 

ต้นเหตุของการเกิดสิวแบ่งออกได้เป็น 4 อย่าง คือ

ต้องบอกก่อนว่าสิวแทบจะทุกชนิดมีสาเหตุมาจากปัจจัยเดียวกันคือ

  1. เชื้อโรคสะสม
  2. เศษผิวหนังเก่าที่อยู่บนรูขุมขนที่ยังไม่ผลัดออกไป
  3. ผิวผลิตน้ำมันมากเกินไป
  4. การอักเสบจากเชื้อสิว

 

ครีมทาสิวที่มีตัวยาไหน รักษาสิวอะไร ใช้ยังไง

เมื่อได้รู้ต้นเหตุของสิวกันไปแล้ว ทีนี้มาทำความเข้าใจกับครีมทาสิวที่มีส่วนผสมเป็นตัวยาต่าง ๆ กันดีกว่า

 

Benzalkonium Chloride (เบนซอลโคเนี่ยม คลอไรด์) 

มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย P. Acne และ C. Acne ต้นเหตุของการเกิดสิวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สิวผด สิวอักเสบ หรือ สิวอุดตัน และยังสามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวได้ดีอีกด้วย

วิธีใช้: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี เบนซอลโคเนี่ยม คลอไรด์ ที่มีความเข้มข้นแค่ 2.5% – 5% ก็เพียงพอ ใช้แต้มสิว หรือทาทิ้งไว้บนผิว 10 – 20 นาทีแล้วล้างออก 

ข้อควรระวัง: ควรเริ่มใช้ในปริมาณน้อยๆก่อน ทดสอบการแพ้หรือการระคายเคืองก่อนใช้

 

Tretinoin (เตรทติโนอิน)

Tretinoin เป็นชื่อสามัญของอนุพันธ์วิตามินเอ หรือ เรตินอล ตัวยาตัวนี้ช่วยในการลดริ้วรอย ลดรอยสิว ช่วยรักษาสิวผด สิวอุดตัน ช่วยลดการทับถมกันของเซลล์ และลดการอักเสบ 

วิธีใช้: ทาสัปดาห์และ 1 – 2 ครั้ง ใช้ก่อนนอน เพราะตัวยาทำให้ผิวไวต่อแสงแดด จนอาจเกิดจุดด่างดำ ห้ามใช้แต้มเป็นจุด ๆ แต่ให้ทาให้ทั่วใบหน้า 

ข้อควรระวัง: ให้เริ่มใช้น้อย ๆ เพราะมีโอกาสเกิดการระคายเคืองได้ง่ายมาก ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ และด้วยความสามารถผลัดเซลล์ผิว อาจมีการดันสิวออกมาให้อดทนต่อสิวที่ดันออกมาไม่แคะ แกะ เกา

 

Azelaic Acid (อะซิลเลอิก เอซิด)

เป็นส่วนผสมที่ให้ผลด้านการยับยั้งการผลิตเม็ดสี ช่วยฆ่าเชื้อสิว ใช้ได้กับสิวทุกประเภท ช่วยผลัดเซลล์ผิว ลดการอักเสบ และลดรอยสิว

วิธีใช้: ทาก่อนลงมอยส์เจอไรเซอร์ บีบเท่าเม็ดถั่วเขียวและทาให้ทั่วใบหน้า ใช้วันละ 1 ครั้ง

ข้อควรระวัง: อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง 

 

Clindamycin (คลินดาไมซิน) 

เป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะ ช่วยหยุดการเติบโตของแบคทีเรีย ลดการเกิดสิว ใช้ได้กับสิวทุกประเภท ข้อดีคือไม่แสบ ไม่ระคายเคือง 

วิธีใช้: ทาหลังล้างหน้าก่อนทามอยส์เจอไรเซอร์ วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น

ข้อควรระวัง: ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเกิน 3 – 4 เดือน

 

ครีมแต้มสิว

จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ส่วนผสมและตัวยาของครีมทาสิวที่เรานำมาแนะนำวันนี้จะมีฤทธิ์ยาที่คล้ายกันมาก แล้วเราจะเลือกใช้แบบไหนดี? คำตอบคือให้ลองเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่งมาใช้และค่อย ๆ ติดตามผลลัพธ์ อย่าใช้พร้อมกันเด็ดขาด ถ้าไม่มั่นใจให้ปรึกษาแพทย์ให้ช่วยวินิจฉัยผิวหน้าเราก่อน ว่าสภาพผิวของเราเป็นยังไง ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทดลองใช้ครีมไปเรื่อย ๆ ลงได้มาก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า